วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เพลงแนะนำ


  เพลงเพราะแนะนำคับ เนื้อหาน่ารัก ตนตรีก็ใช้ได้ทีเดียว ลองฟังกันดูนะคับ

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เลือกสืบค้นขอมูลจากฐานข้อมูลไทยและต่างประเทศ



บรรณานุกรมวารสาร

วิชชุดา กิจธรธรรม.  (2555).  เหตุและผลของพฤติกรรมการดื่มสุราของนิสิต/นักศึกษาไทย.
        วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 18(1), 1-16.
สำนักอุทยานแห่งชาติ.  (2552).  ผีเสื้อรายงานใหม่ของไทย.  วารสารท่องอุทยานแห่งชาติ, 6(27), 4.

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประเมินเว็บไซต์

https://docs.google.com/document/d/1hkTJyn8Ass1O95NtOm3lI5m4RFeJa0OqYoFz4wgAL5k/edit

บุคคลที่สนใจใน mv what i've done


 มหาตมา คานธี (อังกฤษMahatma Gandhi)
http://www.9dern.com/rsa/view.php?id=1228


บรรณานุกรม

นก รัตติกาล.  (ม.ป.ป).  ตำนานมหาบุรุษ.  ค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2555,  

        จาก http://www.9dern.com/rsa/view.php?id=1228


แปลเพลง what i've done

แปลเพลง


ในการอำลานี้ไม่มีการนองเลือด ไม่มีไม่มีข้อแก้ตัวใด เพราะผมเหนื่อยล้า จากความจริง ในพันคำลวง ฉะนั้น ให้ความปราณีได้ช่วยลบเลือนสิ่งที่ผมได้ทำ ผมจะเผชิญหน้ากับตัวเองเพื่อก้าวข้ามสิ่งที่ผมเป็น ลบตัวเองและไปจากสิ่งที่ผมเคยทำ  เข้าสู่การหยุดนิ่ง สิ่งที่คุณคิดถึงผมตอนที่ผมเก็บกวาดกระดานนี้ด้วยสองมือที่รู้สึกไม่มั่นคง ฉะนั้น ให้ความปราณีได้ช่วยลบเลือนสิ่งที่ผมได้ทำผมจะเผชิญหน้ากับตัวเองเพื่อก้าวข้ามสิ่งที่ผมเป็น ลบตัวเองและไปจากสิ่งที่ผมเคยทำเพื่อสิ่งที่ผมได้ทำ ผมจะเริ่มต้นใหม่อีกครั้งและไม่ว่าจะเกิดอะไรมันจะสิ้นสุดลงภายในวันนี้ ผมยกโทษให้สิ่งที่ผมได้ทำ ผมจะเผชิญหน้ากับตัวเองเพื่อก้าวข้ามสิ่งที่ผมเป็น  ลบตัวเองและไปจากสิ่งที่ผมเคยทำสิ่งที่ผมทำ ยกโทษให้...สิ่งที่ผมทำ

เอ็มวีต้องการสะท้อนให้เห็นถึงการกระทำที่เกินเลยไปของมนุษย์ที่หวังเพียงสนองความต้องการของตนเองโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามในภายหลังหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโลก  การก่อสงคราม การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง การทำลายป่า การล่าสัตว์ป่า การก่อการร้ายที่มุ่งทำลายชีวิตและอาคารหรือวัตถุ  สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในทุกวันนี้เราก็สัมผัสได้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำที่ผ่านมาแล้ว


วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

เรื่องมหาสมุทรอาร์กติก

บทที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับมหาสมุทร
1.1 ลักษณะพื้นฐานทางกายภาพ
1.2 การไหลเวียนของกระแสน้ำบริเวณพื้นผิวมหาสมุทร  
1.3 การจัดแบ่งพื้นที่มหาสมุทรในโลก

1.4 ลักษณะทางภูมิอากาศ
1.5 การแข็งตัวของน้ำทะเลในเขตขั้วโลก
บทที่ 2 ลักษณะทั่วไปของมหาสมุทรอาร์กติก
2.1 ลักษณะทั่วไปของมหาสมุทรอาร์กติก
2.2 ลักษณะทางนิเวศวิทยาในมหาสมุทรอาร์กติก

บทที่ 3 การค้นพบมหาสมุทรอาร์กติก
บทที่ 4 ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อมหาสมุทรอาร์กติก

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

ผ้าไหมสุรินทร์


ประวัติความเป็นมา

จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานานจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่น่สนใจยิ่งหากศึกษาอย่างลึกซึ่งแล้ว จะค้นพบเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนว่า จังหวัดสุรินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องผ้าไหม ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการทอ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้าไหม การผลิตเส้นไหมน้อย และกรรมวิธีการทอ
จังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย (ภาษาเขมร เรียก “โซกซัก”) มาใช้ในการทอผ้า ไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก เรียบ นิ่ม เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย นอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์ ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า มีการทอที่เดียวใบประเทศไทย จนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงรับสั่งว่า ใส่แล้วเย็นสบาย อีกทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้วย
ลักษณะเด่นของผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์
1. มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา และลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล
2. นิยมใช้ไหมน้อยในการทอ ซึ่งไหมน้อยคือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม มีลักษณะนุ่ม เรียบ เงางาม
3. นิยมใช้สีธรรมชาติในการทอ ทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ คือ สีจะออกโทนสีขรึม เช่นน้ำตาล แดง เขียว ดำ เหลือง อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้ 
4. ฝีมือการทอ จะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอและประณีต รู้จักผสมผสานลวดลายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แสดงถึงศิลปที่สวยงามกว่าปกติ
5. แต่เดิมนั้นการทอผ้าไหมของชาวบ้านทำเพื่อไว้ใช้เอง และสวมใส่ในงานทำบุญและงานพิธีต่างๆ
การทอจะทำหลังจากสิ้นสุดฤดูกาลทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก มิได้มีการทอเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด จนมีคำกล่าวทั่วไปว่า “พอหมดหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก
แหล่งผลิตผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์ จึงมีเกือบทุกหมู่บ้าน ผู้สนใจสามารถไปชมกรรมวิธีการเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมจากแหล่งต่าง ๆ ได้มากมายหลายแห่ง ลายผ้าไหมของชาวสุรินทร์ มีผู้จัดประเภทตามลักษณะการทอได้ 6 ประเภท คือ
ผ้าไหมมัดหมี่

1. มัดหมี่โฮล หรือ จองโฮล (จองเป็นภาษาเขมร หมายถึง ผูกหรือมัดหรือ ซัมป็วตโฮล เป็นหนึ่งในผ้าไหมมัดหมี่ของเมืองสุรินทร์ มัดหมี่แม่ลายโฮล ถือเป็นแม่ลายหลักของผ้ามัดหมี่สุรินทร์ที่มีกรรมวิธีการมัดย้อมด้วยวิธีเฉพาะ ไม่เหมือนที่ใดๆ ความโดดเด่นของการมัดย้อมแบบจองโฮล คือในการมัดย้อมแบบเดียวนี้ สามารถทอได้ 2 ลาย คือ โฮลผู้หญิง (โฮลแสร็ยหรือผ้าโฮลธรรมดา และสามารถทอเป็นผ้าโฮลผู้ชาย (โฮลเปราะฮ์ไว้นุ่งในงานพิธีต่างๆ
    ผ้าโฮล ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทผ้าไหม ในงาน “มหกรรมผ้าไทย เทิดไท้องค์ราชินี” เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2545  ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขาบางกะปิ กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
  2มัดหมี่อัมปรม หรือ จองกรา เป็นการมัดหมี่ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน ซึ่งมีปรากฏที่จังหวัดสุรินทร์แห่งเดียวในประเทศไทย การมัดหมี่อัมปรมนี้จะทอให้ส่วนที่มัดเป็น “กราปะ” คือ จุดปะขาวของเส้นยืน มาชนกับจุดปะขาวของเส้นพุ่ง ให้เป็นเครื่องหมายบวกบนสีพื้น เช่น การทอบนพื้นสีแดงซึ่งย้อมด้วยครั่ง ก็เรียกว่า อัมปรมครั่ง การทอบนพื้นสีม่วง ก็เรียกว่า อัมปรมปะกากะออม
  จังหวัดสุรินทร์ได้ตัดเสื้อผ้าไหมมัดหมี่อัมปรมให้คณะรัฐมนตรีในการเดินทางมาประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่  จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 10 –11 พฤศจิกายน 2544
3. มัดหมี่ลายต่างๆ หรือ จองซิน เป็นมัดหมี่ที่เหมือนจังหวัดอื่นๆ ทั่วๆ ไป มีหลายลาย แบ่งได้ดังนี้
   3.1 มัดหมี่ลายธรรมดา ช่น ลายหมี่ข้อ หมี่คั่น หมี่โคม ซึ่งจะพบมากที่ บ้านจารพัต อำเภอศีขรภูมิ บ้านสดอ บ้านนาโพธิ์ บ้านเขวาสินรินทร์ ตำบลเขวาสินรินทร์ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ บ้านสวาย บ้านนาแห้ว ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์
  3.2 มัดหมี่ลายกนก เช่น ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายสับปะรด ลายพระตะบอง ลายก้านแย่ง ลายพนมเปญ ลายดอกมะเขือ ส่วนมากจะพบที่ บ้านสวาย ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ บ้านอู่โลก ตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน
  3.3 มัดหมี่ลายรูปสัตว์ ต้นไม้ และลายผสมอื่นๆ เช่น รูปนก ไก่ ผีเสื้อ ช้าง ม้า นกยูง ปลาหมึก พญานาค นำมาผสมกับลายต้นไม้ดอกไม้ต่างๆ หรือทอลายสัตว์เดี่ยวๆ ตลอดผืน พบมากเกือบทุกหมู่บ้าน
ผ้ายกดอกลายดอกพิกุล หรือ ปกาปกุน ผ้ายกดอกลายนี้จะย้อมเส้นด้ายยืนสีเดียวและอาจใช้สีอื่นคั่นระหว่างดอกก็ได้ การเก็บตะกอ 4 ตะกอ โดยการทอลายขัดเป็นพื้น 2 ตะกอ ส่วนอีก 2 ตะกอเป็นลวดลายการทอลายนี้จะทอทีละตะกอ จะพบที่บ้านเขวาสินรินทร์เป็นส่วนใหญ่

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555


มาสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวกันนะครับด้วยโปรแกรมต่อไปนี้

       


blogger


mediafire

google docs


classmaker



ที่มา http://nawasai-course1.blogspot.com